วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

Heliamphora


เป็นพืชที่มีเหมือกเหนียวสำหรับดักแมลง กลไกของดอกจะมีซอกซับซ้อนที่ทำให้แน่ใจว่าไม่สามารถมีเหยื่อเล็ดรอดไปได้ และเหยื่อจะถูกละลายด้วยน้ำเมือกที่เป็นกรด

ดาร์ลิงโทเนีย (Darlingtonia), Cobra Lilly, ลิลลี่งูเห่า


ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงกลุ่มเดียวกับซาราซีเนียและ Heliamphora มีชื่อเสียงในแง่ของความแปลกประหลาด น่าพิศวงและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีชื่อด้านตรงข้ามในแง่ของความบอบบางจนกล่าวกันว่า ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงที่เลี้ยงยากที่สุดในโลก แม้แต่ในถิ่นที่ลิลลี่งูเห่ากำเนิดเป็นดงใหญ่ ชาวบ้านในละแวกนั้น ขุดมาใส่กระถางก็ยังตาย ดาร์ลิงโทเนีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Darlingtonia californica ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1841 โดยผู้ช่วยนักพฤกษศาสตร์นาม J.D. Brackenridge ในหนองน้ำแฉะทางตอนเหนือของรัฐ  californica ซึ่งมีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย ดาร์ลิงโทเนียเป็นพืชล้มลุกไม่มีเนื้อไม้ อายุหลายปี มีต้นฝังอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้า รากแตกเป็นฝอยเล็กๆ ไม่มีรากแก้ว ใบของมันจะแทงขึ้นพ้นพื้นดินลักษณะเป็นกอ เช่นเดียวกับซาราซีเนีย    แต่ความแตกต่างที่เห็นชัดคือว่า กรวยที่ยกขึ้นเป็นหลอดด้านหนึ่งจะโค้งงอเป็นรูปโดม จนไปชนปลายกรวยอีกด้านหนึ่งเหลือไว้เพียงรูเล็กๆ พอให้แมลงมุดขึ้นไปได้ ฝากรวยแปลงรูปไปเป็นแผ่นคล้ายลิ้นงู 2 แฉก แล้วกรวยของมันยังบิดตัวหมุนกลับ 180 องศา ทำให้ลิ้น 2 แฉกหมุนกลับมาอยู่นอกกอ  ยอดโดมเป็นเนื้อเยื่อใสคล้ายพลาสติก    แสงลอดผ่านได้  ใช้กลิ่นหอมของน้ำหวาน ที่มันผลิตขึ้นบริเวณปากทางเข้า เป็นตัวหลอกล่อให้แมลงเดินเข้าไปยังกับดักและตกลงไปตายในที่สุด แต่เจ้าลิลลี่งูเห่าทำได้แยบยลกว่านั้น น้ำหวานที่มันผลิตจะหลอกล่อให้แมลงเดินเข้าไปในรูเปิดเล็กๆ บริเวณลิ้นงูเห่า ซึ่งผนังภายในมีน้ำหวานจำนวนมาก แมลงอาจลังเลที่จะมุดตัวเข้าไปในกรวยที่เต็มไปด้วยน้ำย่อย แต่เมื่อมันมองเข้าไปด้านใน มันจะเห็นแสงสว่างส่องมาจากด้านบนของโดม ซึ่งใสคล้ายพลาสติกทำให้มันหลงกลคิดว่าด้านบนคือท้องฟ้า หากเกินเหตุอันตรายมันก็สามาถบินหลบหนีขึ้นไปได้ทันที แมลงเคราะห์ร้ายจึงชะล่าใจมุดเข้าไปกินน้ำหวานลึกเข้าไปในกรวยที่มีขนละเอียดและแหลมคม หันไปทิศทางเดียวกันทำให้แมลงไม่สามารถเดินย้อนกลับได้

Helicodiceros muscivorus — Dead horse arum lily


เป็นไม้ประดับ พื้นเมืองในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน มีกลิ่นเหมือนเนื้อเน่าเหม็นหึ่ง, ดึงดูดแมลง  ให้มาผสมเกสร


ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง หรือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ” Amorphophallus titanum ” ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น ลึงค์ยักษ์แปลงคือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล บัวผุด” (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร จึงพืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Titan Arum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย ซึ่งจะบาน 72 ชั่วโมง

ดอกบัวผุด


เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่บนรากของพืชจำพวกเถาองุ่นป่า (Tetrastigma) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ย่านไก่ต้ม มีลักษณะเด่นที่ดอกซึ่งเป็นดอกเดียวขึ้นจากพื้นดินมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเหม็นมาก ให้เห็นระหว่างฤดูฝน ระหว่างพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

ดอกตูมอยู่จะคล้ายกับหม้อขนาดใหญ่มีกลีบหนาจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 70-80 เซนติเมตร ที่โคนของดอกมีกลีบนำสีน้ำตาลอมเหลืองเรียงสลับซับซ้อนกันอยู่มาก ภายในดอกจะมีแผ่นแบนคล้ายจาน ด้านบนมีปุ่มคล้ายหนามแหลมจานนี้จะซ้อนเกสรตัวผู้และรังไข่ไว้ด้านล่าง ดอกจะบานอยู่ได้เพียง 4-5 วันเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ดำเน่าไป ดอกบัวผุดพบใน อำเภอพนม บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ในจังหวัดสุราษฎ์ธานี ซึงเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Narcissus



ดอกนาร์ซิสซัสนี้ ว่ากันว่า มีพิษร้ายแรงมากมาย
มีหลายคนที่สับสนแยกไม่ออกระหว่างดอกไม้นี้กับหัวหอม
แต่ถ้ากินเข้าไปแล้วล่ะก็ เจอดีแน่
ทั้งอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วงอย่างแรง

ดอกผกากรองหรือLantana


 ดอกไม้เหล่านี้ละเอียดอ่อนที่มีกลีบดอกสีชมพูและสีเหลืองของพวกเขาจะแม่เหล็กผีเสื้อ พุ่มไม้ที่สามารถเติบโตได้มีขนาดใหญ่มากและสีของการเปลี่ยนแปลงกลีบเป็นพืชอายุ ระวัง -- Lantana ถือว่าเป็นวัชพืชโดยมากมายที่ค่อนข้างยากที่จะกำจัด


ดอกระฆังหรือBlue Bells


ในฤดูใบไม้ผลิป่ายุโรปจำนวนมากถูกปกคลุมด้วยพรมหนาแน่นของดอกไม้นี้เหล่านี้เป็นที่เรียกทั่วไปว่า"ไม้ดอกไม้ชนิดหนึ่งมันเป็นความคิดที่พวกเขาตั้งชื่อโดยกวีโรแมนติกของศตวรรษที่ 19, ผู้ที่รู้สึกว่าเหงาสัญลักษณ์และเสียใจ

ดอกโลหิตแห่งหัวใจหรือดอกหทัยหยาดทิพย์หรือBleeding Heart


เหตุที่เขาได้ชื่อว่า bleeding heart ก็เพราะว่า เมื่อดอกเขาผลิใหม่ ๆ ยังตูม ๆอยู่ที่ปลายแหลมของหัวใจด้านล่าง จะมีติ่งรูปร่างคล้ายหยดน้ำ มีสีแดง ๆ ดูเหมือนหยดเลือด  แต่เมื่อดอกเริ่มบาน  ตัวหยดจะเปิดออกให้เห็นใส้สีขาว ๆ อยู่ข้างใน คราวนี้จะเห็นหยดน้ำไหลออกมาจากหัวใจแทน คนเยอรมันเห็นตรงนี้เหมือนหยดน้ำตา เลยเรียกดอกนี้ว่า  Traenendes herz ดอกหัวใจเจ้าน้ำตา  ลองดูจากรูป รูปข้างบน หรือรูปข้างล่างก็ได้ ก็จะเห็นตามที่ว่านี้


ดอกซูซานตาดำหรือBlack Eyed Susan



ซูซานตาดำ, wildflower ร่าเริงอยู่ตลอดกาลที่ทำหน้าที่เป็นแบบเลื่อนกลับที่สวยงามในสวนใด ๆความคมชัดของสีทองสดใสกลีบดอกสีเหลืองและสีดำตรงกลางจะทำให้ง่ายต่อการใด ๆจุดหนึ่งและทราบว่าเป็น


ดอกไฮเดรนเยีย


ไฮเดรนเยีย(Hydrangea)เป็นไม้พุ่งสูง1-3เมตรจัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดเป็นไม้ยืนต้น
หรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด
ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้แต่ถ้าเป็นชนิด
ที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาวดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิง
หลั่นหรือช่อแยกแขนง(corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือกลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็ก
ที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอก
ประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ
ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง
ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5สีดอกจะออก
เป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด
ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก
ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน

ดอกปักษาสวรรค์





ปักษาสวรรค์มีใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกแกมขอบขนาน คล้ายใบกล้วย ปลายใบแหลม โคนมนถึงสอบ ขอบเรียบกว้าง 10 - 15 ซม. ยาว 30 - 60 ซม. ก้านใบยาว 30 -60 ซม. บริเวณช่วงต่อกับแผ่นใบกลมมน โคนก้านใบแผ่แบนเป็นกาบโอบรอบต้น
จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุ 3 - 6 ปี ดอกมีรูปทรงคล้ายนกที่กำลังกางปีก อาจจะออกเป็นดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อประมาณ 3 -7 ดอก ออกจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกกลม มีกาบรองดอกรูปเรือรองรับดอกย่อย แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงรูปหอกแคบยาว 3 กลีบ และกลีบดอกรูปหัวลูกศร 2 กลีบ ส่วนปลายกลีบห่อติดกัน มีเกสรเพศผู้และเพศเมียอยู่ภายใน ตอนปลายสุดของหัวลูกศรมียอดเกสรเพศเมียสีน้ำตาลยื่นออกมา เมื่อดอกบานเต็มที่มีความยาว 8 - 12 ซม. ทยอยบานจากโคนช่อไปปลายช่อ ผลมีรูปรี จะแห้งและแตก ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ด รูปกลม มีเปลือกหนาสีดำ